การฝึกความคล่องตัวที่จำเป็นต่อการชก มวยไทย  ที่นิยมให้ทั่วไปมีการวิ่งเก็บของ การวิ่งหลบหลีก การวิ่งกลับตัว การกระโดดเชือก ซึ่งการที่ผู้เล่นจะสามารถแสดงทักษะและเทคนิคในการเล่น มวยไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ปัจจัยด้านสมรรถภาพทางกายที่มีผลเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กล่าวมาปัจจัยหนึ่งคือ ผู้เล่นนั้นมี ช่วงการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ทักษะ และเทคนิค กว้างกว่าผู้อื่น ซึ่งช่วงกว้างของการเคลื่อนไหว มวยไทย นั้น ผู้เล่นต้องสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทันทีภายหลังจากการอบอุ่นร่างกายสิ้นสุดลง ช่วงกว้างของการเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นจากการที่ข้อ ต่อสามารถเคลื่อนที่ได้มากขึ้น นั้นหมายความว่า ข้อต่อนั้นมีความยืดหยุ่นนั้นเอง การ ยืดหยุ่นของข้อต่อเป็นจุดเริ่มต้นของสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว ซึ่งความอ่อนตัว จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กล้ามเนื้อถูกยืดออกมากที่สุด และกล้ามเนื้อนั้นจะส่งแรงดึงไปยังข้อต่อ และคานของร่างกายเพื่อทำการเคลื่อนไหวต่อไป ลักษณะเฉพาะของการฝึกความอ่อนตัว

  1. การฝึกความอ่อนตัวต้องกระทำภายหลังการอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอแล้วและไม่ควรฝึกในขณะที่กล้ามเนื้อเกิดความเมื่อยล้า
  2. การฝึกแบบนี้ควรควบคุมให้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อยืดตัวมากที่สุด โดยใช้ แรงภายในร่างกาย หรือใช้ถูกน้ำหนักช่วย
  3. การฝึกความอ่อนตัวควรกระทำเป็นประจำทุกวัน หากเป็นไปได้
  4. การฝึกแบบโลดโผน ซึ่งเหมาะที่จะนำการฝึกความอ่อน ตัวมาใช้และเหมาะที่จะนำมาใช้แกนักมวยไทย บางประเภท